ที่บ้านผู้เขียนอยู่ในชนบทที่ระบบประปายังเข้าไม่ถึง ในส่วนของน้ำดื่มจะเก็ยน้ำฝนไว้ในโอ่งปูน ปรกติจะพอใช้ทั้งปี ยกเว้นบางปีแล้งจัด ก็จะขอให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลช่วยนำน้ำมาสงให้ ซื้อบ้าง ฟรีบ้างแล้วช่วงของงบประมาณ
แต่สำหรับน้ำใช้ ที่บ้านผู้เขียนจะอาศัยสูบมาจากอ่างเก็บน้ำซึ่งอยู่ไม่ไกลบ้านนัก เนื่องน้ำเป็นแหล่งน้ำสาธารณะ เป็นแหล่งน้ำเปิด จึงไม่เหมาะกับการนำมาดื่ม แต่กรณีของการนำน้ำมาใช้อุปโภค ผู้เขียนจะทำการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำมาผ่านเครื่องกรอง ที่ทำขึ้นอย่างง่ายๆ โดยใช้ถังพลาสติกขนาดประมาณ ๑๕๐ ลิตร นำมาต่อท่อส่งน้ำเข้า (ปากท่อติดฝาถัง) และดึงน้ำออก (ปากท่อยาวถึงก้นถัง) ดังรูปข้างต้น
ในส่วนของใส้กรองผู้เขียนจะใช้ถ่านหุงต้มที่ใช้ในครัวเรือน บรรจุไว้ข้างใน ถ่านจะทำหน้าที่ ดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์, ทำหน้าที่ฟอกสี, และทำหน้าที่ดูดซับสารพิษหรือโลหะหนักที่ปนมากับน้ำ โดยปรกติที่บ้านผู้เขียนจะเผาถ่านใช้เอง ดังนั้นถ่านที่ผู้เขียนจะนำมาใช้จะเผามาจากไม้ไผ่ ซึ่งเนื้อถ่านจะมีรูพรุนมากกว่าไม้ทั่วไป ช่วยในการดูดซับสารพิษ จึงนิยมนำถ่านไม้ไผ่มาทำใส้กรองของเครื่องกรองน้ำ
เนื่องจากน้ำที่ได้จะเป็นน้ำใช้ ไม่ใช่น้ำดื่ม การเปลี่ยนถ่านที่ใช้เป็นตัวกรองน้ำ อาจจะ ทำทุกๆ ๓ หรือ ๖ เดือน แต่ถ้าแหล่งน้ำอยู่ใกล้ชมชน หรือแหล่งอุตสาหากรรม อาจจะต้องเปลี่ยนเดือนละครั้ง สำหรับปริมาณที่ใส่อาจจะใส่จนเต็มหรือเต็มถังก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณถ่านมี่เรามี อย่างในกรณีของผู้เขียนจะใส่ครั้งละ ๑ กระสอบอาหารสัตว์ ซึ่งจะได้ประมาณครื่งถังกรอง