MyBanner
โฆษณา
วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ท่านเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนฉันไหม
มูลเหตุที่ผู้เขียนทำบทความชุดนี้ ไม่ได้มาจากข้อความข้างต้น แต่ที่ขึ้นข้อความนี้ไว้ เพราะทุกคนเข้าในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมือนกัน มูลเหตุที่แท้จริงเกิดจากมีหน่วยงานราชการในอำเภอ ขอให้ไปเป็นวิทยากรพูดเรื่อง "การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน" ถ้าจะว่าไปแล้วเนื้อหาไม่มีอะไรมาก เพราะผู้เขียนจะพูดเรื่องสิ่งต่างๆ ทีทำอยู่ในบ้าน ซึ่งผู้เขียนเชื่อมั่นว่าองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งที่ทำคือเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนจะใช่หรือไม่ใช่ ก็ขออยากเชิญชวนครูบาอาจารย์ที่พลักดันเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศนี้ หากมีโอกาสแวะเวียนมาที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ของให้ช่วยแวะมาที่ "ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา" (ชื่อเต็มคือ สวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา) เพื่อให้คำแนะนำ อะไรที่ผู้เขียนนำมาปรับใช้ในพื้นที่ได้ ผู้เขียนจะนำมาดำเนินการทันที
ขอเริ่มต้นที่ "เชื่อหรือไม่?"
ท่านเชื่อหรือไม่ว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้ผลกับผู้นำไปปฏิบัติ คือ
- ๑. คนรวยจะรวยมากขึ้นกว่าเดิม และรวยอย่างมีคุณธรรม ที่เรียกว่า เศรษฐี ไม่ใช่ กระฎุมพี หรือคนร่ำรวยที่ได้เงินมาโดยไม่คำนึงถึงหลักกฏหมาย, หลักศิลธรรม, ความเดือดร้อนของผู้คนทั้งทางตรงทางอ้อม และความเสียหายของสิ่งแวดล้อม
- ๒. คนจน จะมชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ยากลำบาก
- ๓. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นระบบเศรษฐกืจแห่งความสุข (ดัชนีความสุขไม่ได้ใช้เงินเป็นตัววัด แต่ใช้การดำรงค์ชีพอย่างสงบสุขแม้ไม่มีรายได้เป็นตัวเงิน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีดัชนีความสุขอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก)
- ๔. เศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจของอารยชน (หมายถึง พระอริยบุคคลในทางพุทธศาสนา ไม่ใช่ชนเผ่าอารยันในประเทศอินเดีย)
เรื่องราวข้านต้นจะจริงหรือไม่ ถ้าท่านปฏิบัติถูกหลักการที่ถูกต้อง ท่านจะพบว่าสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวมาในข้างต้นเป็นเรื่องจริง
ลองมองให้เป็นระบบ แล้วท่านจะพบหนทาง
- ๑. ส่วนที่เป็นรูปธรรม คือลักษณะหรือรูปแบบหรือวิธีการที่บ่งบอกว่า ลักษณะเหล่านี้เป็นระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง
- ๒. ส่วนที่เป็นนามธรรม คือ ปรัชญาของเศรษฐกืจพอเพียง ซึ่งใช้เป็นกรอบควบคุมทิศทางของระบบ
ทบทวนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นระบบเศรษฐกิจชนิดเดียวที่มีหลักปรัชญากำกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือกรอบหรือขอบเขต หรือเป็นข้อบังคับในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายใต้ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาจะมีลักษณะคล้ายกับกฏหมาย แต่ต่างกันตรงที่ปรัชญาไม่ได้บังคับให้ทำ จะทำหรือไม่ทำตามก็ได้ ไม่มีบทลงโทษ แต่กฏหมายจะเป็นการบังคับให้ทำตาม ถ้าไม่ทำตามก็จะมีบทลงโทษ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไขในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ ว่ากิจกรรมต่างๆ ที่เราทำอยู่นั้น เป็นกิจพรรมภายใต้ระบบเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่
อย่าพยายามเข้าใจผิด
หลายคนมองภาพรวมของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ออก เลยทึกทักเอาว่าเกษรตรทฤษฏีใหม่ของในหลวงรัชการลที่ ๙ คือเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งที่เกษรตรทฤษฏีใหม่เป็นเรื่องของแนวทางในการแก้ปัญหาเกษตรทฤษฏีเก่า ซึ่งถ้าจะสรุปเรื่องเกษตรทฤษฏีใหม่สามารถสรุปสาระสำคัญได้ ๒ เรื่อง คือ
- ๑. เป็นแนวทางในการจัดการน้ำในแปลงเกษตรของเกษตรกร
- ๒.เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาอันเกิดจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวของเกษตรกร หรือลดความเสี่ยง
ซึ่งคนที่ทำตามหลักเกษตรทฤษฏีใหม่จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ จะต้องดูที่เป้าหมายของสิ่งที่เขาทำ แต่ที่แน่ๆ การทำการกิจการทางการเกษตรที่เพื่อการค้าหลากหลายไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง แล้วเศรษฐกิจพอเพียงมีลักษณะเป็นอย่างไร
ระบบเศรษฐกิจโลก
- ๑. ระบบเศรษฐกิจการค้า เป็นระบบเศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆ ใช้กันอยู่ เป็นระบบที่ใช้เงินเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน เป็นระบบเศรษฐกิจที่เก่าแก่
- ๒. ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตน เป็นระบบเศรษฐกิจที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการเกิดสังคมมนุษย์ เป็นระบบที่ผลิตเพื่อกินใช้ในครัวเรือน และแลกเปลี่ยนหมุนเวัยนกินใช้ในท้องถิ่น ไม่มีการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนด้วยเงิน ระบบเศรษฐกิจแบบนี้เริ่มสูญหายไป เนื่องจากการติดต่อสือสาร การคมนาคมทำได้ดีกว่าสมัยก่อนๆ
- ๓.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ใช้ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ เป็นระบบเศรษฐกิจเกิดขึ้นมาใหม่ตามแนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์
- ๔. ระบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นระบบเศรษฐกืจตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่สหประชาชาติยอมรับว่าเป็นระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมากจากระบบเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิม
ระบบเศรษฐกิจพอเพียง จะเหมือนกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ตรงที่เป็นระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ไม่ต้องการให้เกิดคนรวยแบบกระฏุมพีขึ้นในระบบ และเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีข้อกำหนดที่เป็นกรอบให้ประชาชนดำเนินชีวิตประจำวัน
แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ ข้อกำหนดหรีอกรอบดังกล่าว ในระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จะใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งหมายถึง การดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จะถูกบังคับด้วยกฎหมาย แต้ข้อกำหนดหรือกรอบที่ให้ประชาชนดำเนินชีวิตประจำวันของเศรษฐกิจพอเพียง คือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ใช่กฎหมายหรือข้อบังคับ ดังนั้นประชาชนของประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง จะปฎิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ ดังนั้นระบบเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นระบบเศรษฐกิจแห่งความสุข และเป็นระบบเศรษฐกิจแห่งอารยชนที่แท้จริง
ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยระบบเศรษฐกิจ ๒ แบบรวมอยู่ในเนื้อเดียวกัน คือระบบเศรษฐกิจการค้า และเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง รวมอยู่ในเนื้อเดียวกัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง
ในส่วนของเศรษฐกิจการค้า ผู้เขียนตีความว่า หมายถึงกิจกรรมใดๆ ก็ตามทั้งของตนเองและครอบครัวที่ให้ผลตอบแทนเป็นเงิน หรือหมายถึงต้องมีอาชีพ ซึ่งหมายถึงอาชีพอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นอาชีพเกษตรกรรม
ในส่วนของเศรษฐกิจแบบพึ่งพาคนเอง หมายถึง กิจกรรมใดๆ ที่ทำขึ้นเพื่อกินใช้ในครัวเรือนโดยไม่ต้องใช้เงินซื้อหรือใช้เงินซื้อน้อยที่สุด ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวอาจจะเป็นกิจกรรมทางการเกษตร หรือไม่ใช่ก็ได้ เช่น การทำน้ำยาล้างจาน แชมพู สบู่ ไว้ใช้ในครัวเรือน (คนมีย้ำยา) หรือเผาถ่านไว้ใช้ในครัวเรือน (คนเอาถ่าน) ซึ่งที่กล่าวมาไม่ใช่กิจกรรมทางการเกษตร
ที่กล่าวว่าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ หมายถึง ถ้าเราทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงิน แล้วเอเงินไปซื้อทุกอย่าง แม้จะกินใช้อย่างประหยัดก็ตาม ก็จะเป็นเพียงเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง
หรือ สมมติว่า ถ้าในบ้านเราทำทุกอย่างเพื่อกินหรือใช้ในครัวเรือนอย่างเดียว ไม่มีการติดต่อซื้อขายกับใครเลย ก็จะเป็นแค่ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง ไม่ใช่เศณษฐกิจพอเพียง ซึ่งปัจจุบันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
และที่ผู้เขียนกล่าวว่า ผู้ที่ทำตามแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฏีใหม่ อาจจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ก็ได้ หมายถึง ถ้าผู้ทำหลักเกษตรทฤษฏีใหม่ แล้วทุกอย่างทำเพื่อขายเป็นเงินเพียงอย่างเดียว แล้วเอาเงินไปซื้อทุกอย่างสำหรับการกินใช้ในครอบครัว ซึ่งลักษณะนี้จะไม่ถือว่าเป็นระบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเพียงการทำกิจการการค้าที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงเท่านั้น
แต่ถ้าในแปลงเกษตรทฤษฏีใหม่ มีการแบ่งแยกกิจกรรมว่า อะไรทำเพื่อขาย อะไรทำเพื่อกินใช้ในครัวเรือนทดแทนการใช้เงินซื้อ ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการดำเนินชีวิต ลักษณะนี้จึงจะถือว่าเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง
ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา (Tam Seeta Natural farm)
ที่บ้านของผู้เขียนที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา ครอบครัวของเราได้ปรับวิถีการดำเนินชีวิต จากเดิมมาสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยได้จัดองค์ประกอบของกิจกรรมภายในครอบครัวตามหลักการที่กล่าวมาในข้างต้น คือ
ส่วนของอาชีพ (ทำรายได้เป็นเงินสดเข้าบ้าน) ที่สวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา จะทำปาล์มน้ำมันจำนวนประมาณ ๑๐ ไร่ และมีรายได้เสริมจากกิจกรรมอื่นๆ เช่นทำเว็บบล็อก และ Forex เป็นต้น
ส่วนของการพึ่งพาตนเอง (กิจกรรมที่ทำขึ้นกินใช้ในครอบครัวทดแทนการซื้อ) จะแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรมใหญ่ คือ
- ๑. บริเวณรอบบ้านจะทำตามแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ ๙ เรื่องป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ในพื้นที่ประมาณ ๗ ไร่ โดยทำเป็นป่าของกิน, ป่าไม้ใช้สอย, ป่าไม้สร้างบ้่าน ซึ่งจะให้ประโยชน์อย่างที่ ๔ คือ ความร่มเย็น โดยมีพืชพันธุ์ไม้ที่ปลูกกว่า ๒๐๐ ชนิด รวมจำนวนไม่น้อยกว่า หมื่นต้น
- ๒. นำแนวพระราชสาวนีของพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ เรื่องโครงการชีวิวิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาปฏิบัติ
โดยรายละเอียดของโครงการประกอบด้วย การปลูกพืช, การเลี้ยงสัตว์, การทำประมง และการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยรายละเอียดและความเคลื่อนไหวของโครงการ ผู้เขียนได้ทำเว็บบล็อกไว้ชื่อ ชีวิตกับชีววิถึ (biological-way-in-my-life.blogspot.com)
ผลการดำเนินงาน
การดำเนินกิจการต่างๆ ภายในสวนกสิกรรมธรรมชาติ ไร่นาป่าผสม บ้านแม่ทำ สีทา จะทำแบบคนจนทำ คือไม่กู้เงินมาทำทุน จะลงทุนเท่าที่มีกำลัง ซึ่งมีผลทำให้ครอบครัวไม่ต้องกังวลเรื่องการหาเงินมาใช้หนี้ มีเงินสดจากการทำอาชีพ แม้จะไม่มากนักแต่ก็เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในครอบครัว และมีความก้าวหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ เช่นสามารถส่ง และผลของการเข้าร่วมโครงการชีวิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และปลูกป่า ๓ อย่าง ปรโยชน์ ๔ อย่างรอบบ้าน ทำให้ครอบครัวมีของกินเพียงพอทั้งปี โดยแทบจะไม่ได้ซื้อของกินจากภายนอกเลยลูกหลานเล่าเรียนในชั้นสูงๆ ได้ ทั้งยังมีส่วนเหลือที่สามารถขายได้เป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้ด้วย
และจากประสบการที่ผ่านมาหลายปี ทำให้พบว่า ทฤษฎีบันได ๙ ขั้นสู่ความพอเพียง จะได้ดีมากจากส่วนของการพึ่งพาตนเอง จากส่วนของอาชีพจะทำไ้ด้น้อยมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)