ที่บ้านผู้เขียนมีพื้นทีส่วนหนึ่งประมาณ
3
ไร่
อยู่บริเวณเหนือเขื่อนชลประทานขนาดเล็ก
ปรกติในหน้าฝน
พื้นที่บริเวณนี้จะถูกที่กักเก็บในเขื่อนท่วมสูงประมาณระดับหัวเข่า
ในหน้าแล้งผู้เขียนจะใช้บริเวณนี้ปลูกพืชหมุนเวียนเช่น
ฟักทอง,
แตงไท,
กระเจี๊ยบเขียว,
ฟักเขียว
หรือข้าวโพดกินฝักสด
อย่างข้าวโพดเทียน,
ข้าวโพดข้าวเหนียว หรือข้าวโพดหวาน ที่สำคัญพื้นที่บริเวณนี้สามารถปลูกพืชผักดังที่กล่าวมาโดยไม่ต้องให้น้ำ คือรอฝน และดินมีความชื้นเพียงพอที่ทำให้ต้นพืชให้ผลผลิตได้
ส่วนในหน้าฝน
ผู้เขียนจะให้พื้นที่บริเวณนี้สำหรับปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน
โดยพันธุ์ข้าวที่ปลูกก่อนหน้านี้คือ
ข้าวลูกพึ่ง
แต่ปัจจุบันที่บ้านผู้เขียนไม่มีพันธุ์ชนิดนี้หลงเหลืออยู่แล้ว
จึงเปลี่ยนมาปลูกข้าว
ไรซ์เบอร์รี่ (rice
berry) แทน
แม้ปริมาณผลผลิตจะสู้ข้าวลูกพึ่งไม่ได้
แต่ราคาหรือมูลค่าของข้าว
(พ.ศ.
2557) แตกต่างมาก
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นผู้เขียนปลูกข้าวชนิดนี้ไว้กินหรือบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก
ไม่ได้ไถพรวน
การปลูกข้าวที่บ้านผู้เขียนจะเริ่มประมาณเดือนสิงหาคม
นับตั้งแต่วันแม่ 12
สิงหาคมเป็นต้นไป
สำหรับพื้นที่ทำการเกษตรที่บ้านผู้เขียน
จะไม่ค่อยได้ไถพรวนด้วยรถไถหรือแทร็กเตอร์
เนื่องจากส่วนหนึ่งที่บ้านผู้เขียนมีทุนจำกัด
(จน)
ไม่มีรถไถของตนเอง
(ถึงมีก็คงไม่ค่อยได้ใช้)
และทุกคนในบ้านเห็นพ้องต้องกันว่า
จะไม่ไถพรวนพื้นที่เพราะปลูกโดยไม่จำเป็น
ดังนั้นวิธีการเตรียมดินที่ใช้ในการเพาะปลูกของบ้านผู้เขียนจึงไม่ค่อยจะเหมือนกับชาวบ้านเขา
การเตรียมดินในพื้นที่ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ของบ้านผู้เขียนจะเริ่มด้วยการใช้เครื่องตัดหญ้า
ตัดหญ้าที่ขึ้นสูงๆ ให้หมดพื้นที
จากนั้นจะขึงเชือกแล้วใช้อุปกรณ์แทกร่องทำเป็นแนวร่องสำหรับปลูกข้าว
แต่ละร่องจะใช้ระห่าง 50
เซนติเมตร
ทำนาหยอด
ไม่ใช่ปักดำ/โยนกล้า
หรือนาหว่าน
การปลูกข้าว
ผู้เขียนจะใช้เครื่องหยอดเมล็ดพืชแบบล้อกลิ้ง
โดยนำเมล็ดพันธุ์ข้าวใส่กระเปาะลูกล้อของเครื่องหยอด
ที่ขอบล้อของเครื่องหยอดเมล็ดจะมีอุปกรณ์เจาะหลุมและปล่อยเมล็ดพันธุ์พืช
เมื่อเรากลิ้งเครื่องหยอดไปข้างหน้า
อุปกรณ์เจาะหลุมจะทำการเจาะดินแล้วปล่อยเมล็ดพืชที่อยู่กระเปาะลงและกลบอัตโนมัติ
เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์พืชแบบนี้
จะเหมาะสำหรับการปลูกบนพื้นทีแห้งที่มีความร่วนซุย
ไม่เหมาะกับดินแข็ง
หรือดินดานหรือดินที่มีความเปียกชื้น
ตัวเครื่องผู้เขียนสั่งซื้อจากอินเตอร์เน็ต
ในการปลูกข้าว
ผู้เขียนจะทำการแทกร่องและหยอดข้าวโดยทำไปทีละแถวจนเต็มพื้นที่
การดูแลรักษาระหว่างข้าวเติบโต
ข้าวที่ปลูกไว้จะไม่ได้ขึ้นน้ำ
ช่วงหลังจากปลูกจะมีฝนตกทำให้ข้าวสามารถขึ้นและตั้งกอได้
ปัญหาหลักก็คือหญ้า
เพราะผู้เขียนไม่ได้ใช้ยาคุมยาฆ่าหญ้า
ใช้การถอนเป็นหลัก (ปี
พ.ศ.
2557 ยังไม่ได้ประดิษฐ์เครื่องถอนหญ้า)
บางจุดที่หญ้าหนาแน่นมากต้องใช้เครื่องตัดหญ้าช่วย
ช่วงปลายเดือนตุลาคมน้ำที่กักเก็บไว้ในเขื่อมเริ่มท่วมมาถึงบริเวณเป็นช่วงที่ข้าวเริ่มตั้งท้องพอดี
นอกจากนี้ช่วงตั้งแต่ข้าวเริ่มขึ้น
จะฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์น้ำหมักปลาผสมกับน้ำส้มควันไม้
หรือน้ำหมักกลอย
หรือน้ำหมักใบยาสูบสลับกันทุกๆ
15
วัน
เมื่อข้าวเริ่มตั้งท้องจะผสมน้ำหมักเศษอาหาร
พด.
2 หรือน้ำหมักผลไม้เพิ่ม
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
การสีข้าว จะนำข้าวเปลือกไปสีกับโรงสีเล็กใกล้บ้าน (โรงสีใหญ่ หรือโรงสีขนาดกลางใกล้บ้านไม่รับสีข้าวไรซ์เบอร์รี่) สีเสร็จต้องนำมาเลือกเอาข้าวขาวที่ค้างคอสี และข้าวเปลือกเล็กๆ ออก ก่อนนำไปหุง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ปลูกช่วงนี้สีจะเข้มมาก
********
บันทึกประจำวันที่
11
กรกฎาคม
พ.ศ.
2557 (2014)
เวลา
|
เหตุการณ์
|
||
06:00 น. | ตื่นนอน | ||
06:30 น. |
นำน้ำจุลินทรีย์ราดบ่อปลา,
ทำอีเอ็มขยายลูกถังหมายเลข
1
และเริ่มใช้อีเอ็มขยายถังที่
2
|
||
07:30 น. |
|
||
08:00 น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
กสิกรรมธรรมชาติ แปลงสวนปาล์ม
(8/2557):ตัดปาล์ม
|
||
12:00 น. |
|
||
13:00 น. | ทำบันทึกประจำวันของวันก่อน ทำบัชีครัวเรือน | ||
13:30 น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
งานอินเตอร์เน็ต
(18/2557):เตรียมโครงแฟ้มโครงสร้างต้นฉบับบทความ
|
||
14:00 น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
กสิกรรมธรรมชาติ บ้านแม่ทำ
สีทา (3/2557):บดข้าวโพดสำหรับเลี้ยงไก่
ด้วยเครื่องโม่บดพลังงานโซลาร์เซลล์
|
||
15:00 น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
งานการตลาดและการลงทุน
(20/2557):ไปเสนอสินค้าแถวบ่อทอง
ขากลับแวะบ้านสมคิด (จริงๆ
ตั้งใจไปม่วงเฒ่าแต่ติดต่อปลายทางไม่ได้)
|
||
19:30 น. |
|
||
20:15 น. | ทำบัญชีครัวเรือน | ||
20:30 น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
งานอินเตอร์เน็ต
(18/2557):เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
โพสต์บทความเรื่องใหม่
|
||
22:00 น. | เข้านอน |