4.5
ชุดคำสั่งช่วยอ้างอิงออบเจ็กต์
เนื่องจากภาษา
OpenOffice
/ LibreOffice Basic เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุหรือ
OOP
ดังนั้นในภาษา
OpenOffice
/ LibreOffice Basic จึงมีชุดคำสั่งช่วยอ้างอิงออบเจ็กต์
เช่นเดียวกับภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุภาษาอื่นๆ
ซึ่งชุดคำสั่งดังกล่าว
ได้แก่ ชุดคำสั่ง With
... End With
4.5.1
ชุดคำสั่ง
With...End
With
เป็นชุดคำสั่งในการกำหนดให้ชื่อออบเจ็กต์ที่ระบุ
เป็นชื่อออบเจ็กต์ปริยาย
(Default)
ชุดคำสั่งต่างๆ
ที่อยู่ภายในกรอบของ With...End
With จะไม่ต้องอ้างอิงชื่อออบเจ็กต์ที่ระบุซ้ำ
โดยรูปแบบชุดคำสั่งมีดังนี้
รูปแบบชุดคำสั่ง
:
With
object
Statements
End
With
|
โดยที่
object
หมายถึง
ชื่อออบเจ็กต์ที่ต้องการให้เป็นออบเจ็กต์ปริยาย
Statements หมายถึง
กลุ่มชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับออบเจ็กต์ที่ระบุ
ตัวอย่างที่
4-9
: ตัวอย่างการใช้ชุดคำสั่ง
With...End
With
....
With
ThisComponent.DrawPage.Form(0).getByName(“กล่องข้อความ_ชื่อ”)
.Hide =
False
.Enable =
True
.setString(“พิมพ์ชื่อตรงนี้”)
End With
....
|
ในตัวอย่างข้างต้น
ชุดคำสั่งต่างๆ ที่อยู่ในกรอบ
With...End
With เป็นการกำหนดค่าให้กับคุณสมบัติ
(Properties)
หัวข้อต่างๆ
ของชิ้นส่วนโปรแกรมชื่อ
“กล่องข้อความ_ชื่อ”
ซึ่งเป็นออบเจ็กต์ที่วางอยู่บนฟอร์มของ
OpenOffice
/ LibreOffice (อาจจะเป็นเอกสารของ
OO
/ LB Writer หรือ
OO
/ LB Calc ก็ได้)
4.6
การจัดการข้อผิดพลาด
ในระหว่างการทำงานของโปรแกรมต่างๆ
ที่เราสร้างขึ้น
มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดข้อผิดพลาด
หรือ Error
ขึ้น
ซึ่งอาจจะทำให้โปรแกรมหยุดการทำงาน
หรือเกิดความเสียหาต่อข้อมูลต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของโปรแกรม
อย่างไรก็ดี
ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในขณะที่โปรแกรมกำลังทำงานบางลักษณะ
เราสามารถเขียนชุดคำสั่งในการจัดการข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้
ในภาษา OpenOffice
/ LibreOffice Basic
มีชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อผิดพลาดที่น่าสนใจ
ได้แก่ ชุดคำสั่ง On
Error Goto .... Resume Next
4.6.1
ชุดคำสั่ง
On
Error Goto .... Resume Next
เป็นชุดสำหรับเรียกชุดคำสั่งจัดการข้อผิดพลาด
หรือย้ายกระแสการทำงานของโปรแกรมไปดำเนินการต่อยังจุดที่กำหนด
โดยรูปแบบชุดคำสั่งมีดังนี้
รูปแบบชุดคำสั่ง
:
On
Error {GoTo
Labelname | GoTo 0
| Resume Next}
|
โดยที่
GoTo
Labelname หมายถึง
กำหนดให้โปรแกรมย้ายไปดำเนินการยังจุดที่กำหนดใน
Labelname
ทันที่ที่เกิดข้อผิดพลาดขึ้น
GoTo
0 หมายถึง
ยกเลิกการจัดการข้อผิดพลาดที่มีอยู่ในซับรูทีน
หรือฟังก์ชันนั้นๆ
Resume Next หมายถึง กำหนดให้โปรแกรมประมวลผลชุดคำสั่งถัดไปจากชุดคำสั่งหรือจุดที่เกิดข้อผิดพลาดขึ้น
Resume Next หมายถึง กำหนดให้โปรแกรมประมวลผลชุดคำสั่งถัดไปจากชุดคำสั่งหรือจุดที่เกิดข้อผิดพลาดขึ้น
ตัวอย่างที่
4-10
: ตัวอย่างการใช้ชุดคำสั่งจัดการข้อผิดพลาด
SUB
subroutineName
On Error
Goto ErrorHandler
....
’
กลุ่มชุดคำสั่งภายในซับรูทีนปรกติ
....
Exit Sub
ErrorHandler:
....
’
กลุ่มชุดคำสั่งกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดขณะโปรแกรมทำงาน
....
End
Sub
|
เวลา
|
เหตุการณ์
|
||
06:00 น. | ตื่นนอน อ่านวารสารไมโครคอมพิวเตอร์ และวารสารเกษตกรรมธรรมชาติ | ||
06:45 น. | ปรับแต่งมูเลของมอเตอร์ปั้มชักพลังงานโซลาร์เซลล์ เนื่องจากมูเลเบี้ยว | ||
07:30 น. |
|
||
08:00 น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
กสิกรรมธรรมชาติ แปลงสวนปาล์ม
(8/2557):ตัดปาล์ม
|
||
12:30 น. |
|
||
13:15 น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
กสิกรรมธรรมชาติ แปลงสวนปาล์ม
(8/2557) : นำปาล์มไปส่ง
(ด้วยมอเตอรไซด์พ่วงข้าง)
เลยไปดูกฤษณะตัดปาล์ม
|
||
17:30 น. | แวะวัดเขาแก้ว | ||
18:15 น. |
|
||
20:00 น. | ทำบันทึกประจำวันของวันก่อน ทำบัญชีครัวเรือน | ||
20:30 น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
งานอินเตอร์เน็ต
(18/2557) : ทำต้นฉบับบทความ
เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
แต่เข้าเว็บไซต์ไม่ได้
|
||
21:00 น. | เข้านอน |