 |
เตาเผาถ่านถัง
200
ลิตรแบบวางนอน |
เตาเผาถ่านด้วยถังเหล็กขนาด
200
ลิตรแบบวางนอน
และใช้ทรายกลบนี้
เป็นแบบที่สามารถพบเห็นได้ตามศูนย์อบรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจแบบพอเพียงทั่วไป
ซึ่งการทำเตาเผาถ่านรูปแบบนี้มีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ
แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะแบบที่มีการปรับปรุงพัฒนา
จนได้รูปแบบที่มีประสิทธิภาพและสะดวกเวลาปฏิบัติงาน
ซึ่งลักษณะของเตาเผาถ่านรูปแบบดังกล่าว
มีลักษณะดังรูปข้างต้น
ถัง
200
ลิตรที่จะนำมาทำเตาเผาถ่านรูปแบบนี้
จะใช้ถังที่ไม่มีการเปิดฝา
โดยนำมาผ่าด้านข้างให้มีขนาดพอเหมาะสำหรับการนำฟีนใส่
เหล็กแผ่นที่เปิดออกมานำมาปรับปรุงเป็นฝาปิดโดยนำเหล็กเส้นมาเชื่อมต่อเป็นที่จับดังรูป
 |
แผนเหล็กที่ตัดออกจากถัง
200
ลิตรมาประยุกต์ทำฝาปิด/เปิด |
วัสดุอุปกรณ์
- ถังเหล็กขนาด
200
ลิตรแบบไม่เปิดฝา
จำนวน 1
ถัง
- ท่อใยหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
3
- 4 นิ้ว
สูง 1
เมตร
จำนวน 1
ท่อน
- อิฐบล็อก
หรืออิฐทำบ้านดินจำนวน 11
ก้อน
(แบ่งครึ่งจำนวน
1
ก้อน)
- วัสดุทำผนังกั้นทราย
(กระเบื้อง,
กระดานอัด,
แผ่นสังกระสี,
ก่อปูน)
- ดินหรือทรายสำหรับกลบถัง
วิธีทำตัวเตา
- ที่ตัวถัง
200
ลิตร
ที่ด้านฝาถังจะเจาะเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมขนาด
8
X 10 นิ้ว
ที่ก้นถังเจาะรูกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
3
- 4 นิ้ว
(หรือเจาะเป็นสี่เหลี่ยมขนาด
3
X 3 นิ้ว)
โดยให้รูที่เจาะทั้งด้านฝาถังและก้นถังอยู่ในแนวเดียวกัน
และอยู่ตรงข้างกับด้านข้างถังที่เปิดฝาออก
- นำอิฐบล็อกวางเรียงดังในรูปที่
13
- นำถัง
200
ลิตรที่เตรียมไว้วางพาดก้อนอิฐบล็อก
โดยให้ส่วนข้างถังที่เปิดออกอยู่ด้านบน
- ใช้ดินเหนียวอุดรอยที่จะทำให้ดินหรือทรายไหลเข้าไปได้
- ทำผนังล้อมกั้นดินหรือทรายรอบถัง
- เทดินหรือทรายกลบจดมิดถัง
เหลือเฉพาะส่วนที่ปิดข้างถังไว้เพื่อนำฟืนมาใส่
- นำไม้ไผ่ที่ทะลุข้อ
หรือท่อใยหินยาวพอประมาณสำหรับทำท่อเก็บน้ำส้มควันไม้
เจาะรูให้ด่างจากจุดที่เชื่อมต่อกับปล่องควันของเตาพอประมาณ
อาจจะใช้แผ่นสังกะสีเล็กๆ
เสียบไว้เพื่อดักน้ำส้มครัวไม้
(ต้องหาภาชนะมารอง)
- จุดไฟที่หน้าเตา
และเลี้ยงไฟจนกว่าจะมีควันบ้าเกิดขึ้น
จึงเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้
และเริ่มหลี่ไฟ (ไม่ต้องเติมฟีนอีก)
- เมื่อควันที่ปล่องหมด
จึงปิดเตา โดยปิดที่ปล่องก่อนแล้วจึงปิดหน้าเตา
(ต้องตรวจดูอย่าให้มีรอยรั่ว)
วิธีการใช้งาน
-การนำฟืนใส่เตา
- นำอิฐบล็อกแตกที่มีช่องวางเหลืออย่างน้อย
1
ช่องจำนวน
3
ก้อน
วางให้ช่องของอิฐบล็อกอยู่ในแนวเดียวกับช่องเปิดของปากถัง
และก้นถัง
- นำฟืนเรียงในเตาจนเต็มถัง
นำฝาที่เตรียมไว้ปิด
- นำทรายกลบให้มิดตัวถังทั้งหมด
- จุดไฟหน้าเตา
- รอและเลี้ยงไฟหน้าเตาจนกว่าควันที่ปล่องจะหมด ใช้เวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมง
-ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
การทำเตาเผาถ่านลักษณะนี้
กรณีที่อิฐที่ใช้ทำหน้าเตาเป็นอิฐบล็อก
มักจะมีปัญหาเรื่องอิฐบล็อกบริเวณดังกล่าวแตกหักง่าย
ทำให้ต้องเปลี่ยนกันอยู่บ่อยๆ
วิธีการการแก้ปัญหาดังกล่าวจะทำได้โดย
นำดินเหนียวอัดใส่รูอิฐบล็อกแต่ละก้อนให้เต็ม
และใช้ดินเหนียวฉาบด้านที่จะสัมผัสกับไฟโดยตรงก่อน
แล้วจึงนำมาจัดเรียงทำหน้าเตา
ซึ่งจะลดปัญหาการแตกหักของอิฐบล็อกได้
หมายเหตุ |
ในขณะที่เผาถ่านด้วยเตารูปแบบนี้
อุณหภูมิภายในเตาอาจจะสูงกว่า
500
องศาเซลเซียส
เนื่องจากดินหรือทรายที่ห่อตัวถัง
200
ลิตรไว้จะสะสมความร้อนไว้
ซึ่งส่งผลต่ออุณหภูมิภายในเตา
|
บันทึกประจำวันที่
8
พฤษภาคม
พ.ศ.
2557 (2014)
เวลา
|
เหตุการณ์
|
05:00
น. |
ตื่นนอน |
05:30
น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
งานอินเตอร์เน็ต
(18/2557):เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
แก้ไขบทความที่โพสต์ไว้
และโพสต์บทความเรื่องใหม่ |
08:00
น. |
0.อาบน้ำ
กินข้าวเช้า |
1.กับข้าว:เครื่องเลี้ยงปีตาเจ้าที่
(หัวหมู,
ไก่,
ขนม),
ผัดแตงกวาใส่ไข่ |
|
08:30
น. |
นอนพัก เนื่องจากปวดหัว |
09:15
น. |
0.Note:น้าจ๋อแวะมาที่บ้าน
มาเอาถังหมักสารชีวภาพ
และกากน้ำตาลที่พัฒนาที่ดินแจกให้ไว้ |
1.งานของกิจกรรมอาชีพ
กสิกรรมธรรมชาติ บ้านแม่ทำ
สีทา (3/2557):ซ่อมเครื่องดายหญ้า
เนื่องจากลูกปืนที่ล้อหลุด |
|
11:15
น. |
ทำบันทึกประจำวันของวันก่อน |
12:00
น. |
แก้ไขบทความภาษาอังกฤษ |
12:45
น. |
Note:นายเปิ้ลมารับยายไปงานศพญาติ |
13:15
น. |
0.Note:ร่งนภาลูกป่าฉลาดแวะมาที่บ้าน
มาทำลาบหมู กินข้าว |
1.กินข้าว
พักผ่อน |
2.กับข้าว:เครื่องเลี้ยงปีตาเจ้าที่
(หัวหมู,
ไก่,
ขนม),
ผัดแตงกวาใส่ไข่,
ลาบหมู |
|
14:15
น. |
0.Note:ร่งนภายังไม่กลับ
ไปเก็บยอดฟักทอง และตัดหน่อไม้ |
0.Note:ร่งนภายังไม่กลับ
ไปเก็บยอดฟักทอง และตัดหน่อไม้ |
|
15:45
น. |
0.สภาพอากาศ:ฝนตกพรำๆ |
1.งานของกิจกรรมอาชีพ
งานอินเตอร์เน็ต
(18/2557):โพสต์บทความเรื่องใหม่ |
|
17:00
น. |
0.สภาพอากาศ:ฝนตกหนัก |
1.พักผ่อน |
|
18:00
น. |
0.อาบน้ำ
กินข้าว ดูทีวี พักผ่อน |
1.กับข้าว:ลาบหมู,
เครื่องเลี้ยงปีตาเจ้าที่ |
|
21:00
น. |
เข้านอน |