 |
ตัวอย่างภูมิประเทศของหมู่บ้านที่เข้าสำรวจ |
ในการลงภาคสนามของการสำมะโนการเกษตรในครั้งนี้
มีปัญหาที่น่าสนใจหลายอย่าง
เนื่องจากผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ
จึงขอถือโอกาสนำปัญหาของการสำรวจข้อมูลที่พบเห็นมาบอกเล่า
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดทำระบบงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจข้อมูลประชากรของหน่วยงานต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
คุณสมบัติของพนักงานแจงนับ
ขอเริ่มต้นที่ส่วนของพนักงานแจงนับ
ซึ่งพนักงานแจงนับคือ
บุคคลที่จะเข้าไปสอบถามข้อมูลที่กำหนดตามบ้านพักอาศัยในเขตพื้นที่ที่พนักงานแจงนับคนนั้นๆ
รับผิดชอบ
ซึ่งในครั้งนี้ระบุให้คัดเลือกจากอาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน
หรือที่เรียกย่อๆ ว่า อกม.
มาทำหน้าที่เป็นพนักงานแจงนับ
หมายถึง ทุกๆ
หมู่บ้านจะมีอาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้านละ
1 คน
แต่จะมีเฉพาะอาสาสมัครเกษตรบางคนเท่านั้นที่ได้รับหน้าที่เป็นพนักงานแจงนับ
เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูลมีจำกัด
ดังนั้นพนักงานแจงนับ 1
คน
จะมีพื้นที่รับผิดชอบหลายหมู่บ้าน
โดยพนักงานแจงนับคนหนึ่งๆ
จะมีครัวเรือนที่ต้องเข้าไปสำรวจประมาณ
1,000
ครัวเรือน
ซึ่งปัญหาของพนักงานแจงนับที่เกี่ยวกับการสำมะโนเกษตรครั้งนี้
พอสรุปได้ดังนี้
1.อาสาสมัครเกษตร
เป็นงานอาสาสมัครที่ไม่มีค่าตอบแทน
และไม่ได้ทำงานเต็มเวลา
ดังนั้นทุกคนจึงมีงานประจำที่เกี่ยวกับอาชีพเกษตรของตนเองอยู่แล้ว
แต่เนื่องจากจำนวนครัวเรือนที่พนักงานแจงนับต้องเข้าไปสำรวจในครั้งนี้มีจำนวนมาก
ทำให้ดูเหมือนเป็นการบังคับให้อาสาสมัครเกษตรต้องหยุดของประจำของตน
แล้วมาทำงานสำรวจข้อมูลเป็นหลัก
แต่เนื่องจากงานเกษตรกรรมส่วนใหญ่
เป็นงานที่ต้องมีการดูแลเอาใจใส่
ถ้าทิ้งงานกลางคันก็จะเกิดความเสียหายต่อผลผลิต
ดังนั้นเมื่อต้องมาทำงานหน้าที่เป็นพนักงานแจงนับจึงทำงานได้ไม่เต็มที่
เพราะต้องทำงานของตนเองเป็นหลักเนื่องจากไม่แน่ใจว่างานสำรวจข้อมูลจะให้ผลตอบแทนคุ้มค่าหรือไม่
2.อาสาสมัครเกษตรส่วนใหญ่
ส่วนใหญ่จะมีความรู้ไม่มากนัก
และไม่คุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์สมัยใหม่อย่างแท็บเล็ตพีซี
หรือแม้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์
ทำให้ความสนใจหรือความต้องการที่จะนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันจึงไม่มี
มีผลให้การใช้แท็บเล็ตพีซีกลายเป็นเรื่องยุ่งยากเอามากๆ
ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการใช้แท็บเล็ตพีซีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งมีผลทำให้การบันทึกข้อมูลระหว่างการสำรวจล่าช้าลงไปด้วย
อาสาสมัครเกษตรหลายคนถึงกับยุติการสำรวจข้อมูล
ภูมิประเทศและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
สภาพหมู่บ้านในต่างจังหวัด
หมู่บ้านแต่ละแห่งมีสภาพการจับกลุ่มของบ้าน
และสภาพภูมิประเทศแตกต่างกัน
บริเวณที่เป็นตลาดและหมู่บ้านดั้งเดิม
บ้านจะรวมอยู่กันเป็นกลุ่ม
การเดินทางระหว่างบ้านแต่ละหลังจะใช้เวลาไม่มากนัก
แต่สำหรับหมู่บ้านเกิดใหม่
ส่วนใหญ่บ้านของเกษตรกรจะปลูกบ้านอยู่ตามไร่นาของตนเอง
บางบ้านอยู่ในป่าลึก
ทำให้การเดินทางจากบ้านหนึ่งไปยังบ้านถัดไป
ต้องใช้เวลามากขึ้น
ซึ่งมีผลต่อจำนวนรายการข้อมูลที่จัดเก็บได้ในแต่ละวัน
ยิ่งถ้าไม่ได้วางแผนการเดินทางให้ดีก็จะทำให้เสียเวลายิ่งขึ้น
ในการอบรมก่อนปฏิบัติงาน
มีการแนะนำให้ใช้แผนที่ประกอบในการวางแผนสำรวจ
แต่พนักงานแจงนับส่วนใหญ่จะไม่ได้รับแผนที่
หรือไม่มีแผนที่ประกอบในการวางแผนสำรวจ
ต้องอาศัยความคุ้นเคยในพื้นที่ช่วย
ปัญหาที่เกิดเป็นเงาตามตัวเมื่อเข้าไปในพื้นที่คือ
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
โดยปรกติวิธีการเดินทางไปสำรวจข้อมูลจะให้จักรยานยนต์เป็นพาหนะ
ซึ่งค่าน้ำมันแก๊สโซฮอลในขณะที่ทำการสำรวจในบางหมู่บ้านแพงกว่า
50
บาทต่อลิตร
บางหมู่บ้านต้องเดินทางโดยรถยนต์
หรือจ้างรถยนต์เข้าไปส่ง
ทำให้ค่าใช้จ่ายในการสำรวจสูงขึ้น
ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้พนักงานแจงนับต้องรับผิดชอบเอง
ทำให้บางพื้นที่อาจจะไม่มีการสำรวจ
โดยเฉพาะพื้นที่ที่พนักงานแจงนับไม่คุ้นเคย
หรือไม่สามารถหาคนนำทางได้
คนที่อยู่ในพื้นที่จริง
และการเข้าถึงบุคคล
จำนวนครัวเรือนที่พนักงานแจ้งนับได้รับมอบหมายให้เข้าไปสำรวจ
ส่วนใหญ่จะอ้างอิงอยู่กับบัญชีเลือกตั้ง
ซึ่งเมื่อทำการสำรวจจริงๆ
พบว่า พื้นที่ที่เป็นชนบทจะมีครัวเรือนที่อยู่พื้นที่จริงๆ
ไม่ถึง 70
เปอร์เซนต์ของจำนวนครัวเรือนที่ปรากฏในบัญชีเลือกตั้ง
แต่พื้นที่ที่เป็นตัวเมือง
จะมีครัวเรือนมากกว่าครัวเรือนในบัญชีเลือกตั้ง
ทำให้ดูเหมือนว่าจำนวนรายการข้อมูลของส่วนที่เป็นชนบทจะไม่ถึงเป้าที่กำหนด
ขณะที่บริเวณที่เป็นตัวเมืองจะมีจำนวนรายการข้อมูลเกินกว่าเป้าหมายไปมาก
ในการเข้าสำรวจบ้านแต่ละหลัง
ถ้าเป็นหมู่บ้านที่พนักงานแจงนับเป็นที่รู้จักดีกันในหมู่บ้าน
จะไม่มีปัญหาในการเข้าถึงบุคคลที่จะให้ข้อมูล
แต่หมู่บ้านอื่นๆ
ที่ไม่มีคนรู้จักพนักงานแจงนับคนนั้นๆ
เลย การเข้าถึงบุคคลที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูลจะยุ่งยากมากขึ้น
ต้องใช้เวลาพูดคุยแนะนำตัวกันนานขึ้น
บางหมู่บ้านต้องให้ผู้ใหญ่บ้านช่วยประกาศให้ก่อน
จึงจะให้ความร่วมมือ
ซึ่งช่วงเวลาที่เสียไปในช่วงเวลาดังกล่าวมีผลต่อจำนวนรายการข้อมูลที่จะสามารถจัดเก็บได้
ในการเข้าถืงบุคคลในพื้นที่
พนักงานแจงนับหลายคนรวมถึงผู้เขียน
แก้ปัญหาดด้วยการหาคนในพื้นที่นำทาง
ซึ่งช่วยลดเวลาในการแนะนำตัวลงได้มาก
แต่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับคนนำทาง
พนักงานแจงนับต้องเป็นคนออกเองเช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
วิธีการปฏิบัติระหว่างการสำรวจข้อมูล
เมื่อพนักงานแจงนับเข้าไปยังบ้านเป้าหมาย
และพบบุคคลที่จะให้ข้อมูล
นอกจากจะมีการเสียเวลาในระหว่างการแนะนำตัวแล้ว
กิจกรรมถัดมาก่อนจะสอบถามข้อมูลและบันทึกลงในแท็บเล็ต
คือการขอบัตรประชาชน
หรือทะเบียนบ้าน
เนื่องจากการสำมะโนการเกษตรครั้งนี้
จะมีการบันทึกรหัสประจำตัว
13
หลักของเกษตรกรด้วย
และบางครัวเรือนต้องใส่รายละเอียดบุคคลที่อยู่ในครัวเรือนทั้งหมดด้วย
ซึ่งบางบ้านใช้เวลาหาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านกว่าครึ่งชั่วโมงกว่าจะได้เริ่มการสอบถามข้อมูล
ซึ่งเวลาที่รอระหว่างการหาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านนี้
มีผลต่อจำนวนรายการข้อมูลที่จะสามารถจัดเก็บได้ในแต่ละวันด้วย
ในระหว่างการสำรวจ
มีพนักงานแจงนับท่านหนึ่งแนะนำให้นำบัญชีรายชื่อเลือกตั้งไปด้วย
โดยขอยืมจากผู้ใหญ่บ้าน
เมื่อเข้าไปยังบ้านที่ทำการสำรวจให้ถามบ้านเลขที่
ซึ่งในบัญชีรายชื่อเลือกตั้ง
บ้านเลขที่จะเรียงตามลำดับอยู่แล้ว
สามารถค้นได้โดยง่าย
ในบัญชีรายชื่อเลือกตั้งดังกล่าวจะมีชื่อสมาชิกในครัวเรือน
และเลขรหัสประจำตัวประชาชน
13
หลักพร้อม
รวมถึงมีรายชื่อสมาชิกในครัวเรือนครบไม่ต้องอาศัยข้อมูลจากทะเบียนบ้าน
ซึ่งวิธีนี้ช่วยลดเวลารอระหว่างการหาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านได้มาก
แต่ก็มีบางหมู่ที่ผู้ใหญ่บ้านไม่ได้สนใจเก็บบัญชีรายชื่อเลือกตั้งไว้
ก็ต้องกลับไปใช้วิธีการเดิม
บันทึกประจำวันที่
21
เมษายน
พ.ศ.
2557 (2014)
เวลา
|
เหตุการณ์
|
01:00
น. |
ตื่นนอน |
01:30
น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
งานอินเตอร์เน็ต
(18/2557):เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
โพสต์บทความเรื่องใหม่ |
03:30
น. |
พักผ่อน |
06:00
น.
|
ดื่มกาแฟ
อ่านสารไมโครคอมพิวเตอร์
และหนังสือเรื่อง "เหนือกว่า
วอลสตรีท"
หรือ One
Up On Wall Steet. |
07:00
น. |
ทำต้นฉบับบทความเรื่องใหม่ |
07:30
น. |
ลอกสายทองแดงไว้ทำเจนเนอเรเตอร์ |
08:00
น. |
0.กินข้าวเช้า |
1.กับข้าว:แกงเหลืองหน่อไม้ไผ่ตงลืมแล้งเนื้อไก่แจ้,
ผัดฟักทอง |
|
08:30
น. |
0.Note:
แม่เล็กจากยางสูงมาที่บ้าน |
1.งานของกิจกรรมอาชีพ
กสิกรรมธรรมชาติ แปลงสวนปาล์ม
(8/2557):จัดปาล์มไปส่งโรงงาน |
|
10:00
น. |
อาบน้ำ
ทำบันทึกประจำวันของวันก่อน |
10:30
น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
งานอินเตอร์เน็ต
(18/2557):แก้ไขบทความที่โพสต์ไว้
และโพสต์บทความเรื่องใหม่ |
11:30
น. |
ค้นข้อมูลเกี่ยวกับปั้มชักสูบน้ำลึก |
13:30
น. |
0.สูบน้ำใช้ด้วยโซลาร์เซลล์ |
1.กินข้าว
พักผ่อน |
1.กับข้าว:แกงเหลืองหน่อไม้ไผ่ตงลืมแล้งเนื้อไก่แจ้,
ผัดฟักทอง |
|
14:30
น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
งานอินเตอร์เน็ต
(18/2557):แก้ไขบทความที่โพสต์ไว้
และโพสต์บทความเรื่องใหม่ |
15:30
น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
กสิกรรมธรรมชาติ บ้านแม่ทำ
สีทา (3/2557):บดข้าวโพดสำหรับเลี้ยงไก่ |
16:30
น. |
ทำด้ามเลื่อย
และตัดกิ่งขนุนที่ติดบ้านออก |
18:00
น. |
0.อาบน้ำ
กินข้าว พักผ่อน ดูทีวี |
1.กับข้าว:ผัดคะน้า,
แกงเหลืองหน่อไม่ไผ่ตงลืมแล้งเนื้อไก่แจ้ |
|
20:00
น. |
เข้านอน |