จากที่ได้เข้าร่วมโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
ร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
สุพรรณบุรี
ทำให้ได้รับองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์หลายอย่าง
หนึ่งในองค์ความรู้ดังกล่าวก็คือ
เรื่องของการทำอีเอ็มขยาย
ปู่ พ่อ ลูก ซึ่งต้องขอกราบขอบคุณท่านอาจารย์สมศักดิ์
เพชรปานกัน แห่งวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
สุพรรณบุรีที่กรุณาถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้
การทำอีเอ็มขยาย
ปู่ พ่อ ลูก
เป็นกระบวนการขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ
ให้เพียงพอสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งภายในครัวเรือน
และด้านการเกษตร
โดยเริ่มต้นจากหัวเชื้ออีเอ็มเพียง
1
สามารถขยายเชื้อได้ถึง
125,000
ลิตรภายในรอบของการขยายเชื้อเพียงรอบเดียว
ขั้นตอนที่
1
เริ่มต้นจากเรามีหัวเชื้ออีเอ็ม
หรือหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งอาจจะหาซื้อในท้องตลาด
หรือหัวเชื้ออีเอ็มที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจัดทำขึ้นแจกจ่ายให้เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการชีวิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยนำหัวเชื้ออีเอ็ม 1
ลิตร กากน้ำตาล
1 ลิตร
น้ำสะอาด 50
ลิตรละลายคนให้เข้ากันในถังหมักขยายเชื้อ
โดยการขายเชื้อชุดแรกนี้จะเรียกว่า
อีเอ็มขยาย ปู่
โดยจะหมักขยายเชื้อไว้อย่างน้อย
7 วัน
ขั้นตอนที่
2
เมื่อได้อีเอ็มขยายปู่แล้ว
เราจะตักอีเอ็มขยายปู่มา
1 ลิตร
กากน้ำตาล 1
ลิตร และน้ำอีก
50
ลิตร
ละลายและคนให้เข้ากันเก็บในถังหมักอีกใบหนึ่ง
ซึ่งถังอีเอ็มขยายชุดนี้จะเรียกว่า
อีเอ็มขยาย พ่อ ปิดฝาหมักทิ้งไว้อีกอย่างน้อย
7
วันเช่นเดียวกัน
ขั้นตอนที่
3
จากนั้น
เราจะอีเอ็มขยายพ่อมา 1
ลิตร กากน้ำตาล
1 ลิตร
น้ำสะอาด 50
ลิตร
ละลายและคนส่วนผสมทั้งสามอย่างให้เข้ากัน
ปิดฝาหมักทิ้งไว้อย่างน้อย
7 วัน
อีเอ็มขยายชุดนี้จะเรียกว่า
อีเอ็มขยายลูก
การนำอีเอ็มขยายไปใช้
และการขยายเชื้อต่อเนื่อง
การนำอีเอ็มขยายไปใช้
เราจะตักเอาอีเอ็มขยายในถังลูกไปใช้จนหมดถังก่อน
จากนั้นจะเริ่มขั้นตอนที่
3 ใหม่
แต่เนื่องจากเราต้องรอการหมักขยายเชื้อของอีเอ็มลูกไปอีกอย่างน้อย
7 วัน
ซึ่งอาจจะไม่ทันใช้
ดังนั้นในขั้นตอนของการขยายเชื้ออีเอ็มลูก
อาจจะทำไว้หลายๆ ถัง
อย่างในกรณีของผู้เขียนจะทำไว้
3 ถัง
เวลานำไปใช้จะเปิดใช้ทีละถัง
เมื่ออีเอ็มขยายในถังหมด
ก็จะทำการขยายเชื้อจากอีเอ็มพ่อ
(ขั้นตอนที่
3)
ซ้ำอีกแล้วไปใช้อีเอ็มขยายในถังถัดไป
เมื่อหมดก็จะทำแบบถังก่อนหน้านี้อีก
แล้ววนกลับไปใช้อีเอ็มขยายที่ถังแรกใหม่
ซึ่งจะครบเวลาของการขยายเชื้อพอดี
ทำลักษณะเดียวกันนี้ไปจนกว่าอีเอ็มขยายพ่อจะหมด
ก็จะกลับไปดำเนินการในขั้นที่
2
คือทำอีเอ็มขยายพ่อใหม่
ทำเช่นนี้จนกว่าอีเอ็มขยายปู่จะหมด
ก็จะต้องไปหาหัวเชื้ออีเอ็มมาเริ่มทำการขยายในขั้นตอนที่
1
อีเอ็มขยายที่ทำตามกระบวนการข้างต้น
ควรจะให้ให้หมดภายใน 3
เดือน
สำหรับวิธีการที่จะทราบว่าเรากำลังนำอีเอ็มลูกถังไหนไปใช้
ผู้เขียนจะใช้วิธีทำเป็นป้ายตัวเลขหมุนเวียนบ่งบอกถึงถังอีเอ็มขยายที่เปิดใช้อยู่ดังรูปข้างต้น
 |
จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในถังขยายเชื้อ
|
บันทึกประจำวันที่
12
เมษายน
พ.ศ.
2557 (2014)
เวลา |
เหตุการณ์
|
06:00
น.
|
ตื่นนอน ดื่มกาแฟ
อ่านวารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ
และหนังสือเรื่อง "เหนือกว่า
วอลสตรีท"
หรือ One
Up On Wall Steet. |
07:00
น. |
ทำต้นฉบับบทความเรื่องใหม่ |
07:30
น. |
0.กินข้าวเช้า |
1.กับข้าว:ผัดผักบุ้ง,
ผัดใบผักหวานป่า,
ฟักทองต้ม |
|
09:30
น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
กสิกรรมธรรมชาติ บ้านแม่ทำ
สีทา (3/2557):ผสมดินเพาะชำต้นไม้ |
11:00
น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
งานคอมพิวเตอร์
(15/2557):อ่านเอกสารเตรียมทำบทความเรื่องใหม่ |
12:45
น. |
0.งานของกิจกรรมอาชีพ
กสิกรรมธรรมชาติ บ้านแม่ทำ
สีทา (3/2557):สูบน้ำรดต้นไม้ที่เพาะชำไว้
และสูบน้ำใช้ด้วยโซลาร์เซลล์ |
1.กินข้าว |
2.กับข้าว:ยำหนังหมู,
ต้มจืดน้ำเต้าหมูสับ,
ผัดผักบุ้ง |
|
13:45
น. |
0.งานของกิจกรรมอาชีพ
กสิกรรมธรรมชาติ บ้านแม่ทำ
สีทา (3/2557):สูบน้ำรดต้นไม้ที่เพาะชำไว้
และสูบน้ำใช้ด้วยโซลาร์เซลล์ |
1.พักผ่อน |
|
16:00
น. |
ไปดูการติดตั้งปั้มสูบน้ำที่บ้านสนธยา |
17:30
น. |
0.สภาพอากาศ:ฝนตกหนักมาก |
1.อาบน้ำ
กินข้าว พักผ่อน |
2.กับข้าว:แกงเปอะหน่อไม้ไผ่ตรงลืมแล้ง,
ผักผักบุ้ง |
|
20:00
น. |
เข้านอน |