ที่บ้านผู้เขียนไม่ได้ใช้ไฟฟ้า
220
โวลต์จากระบบสายส่งของการไฟฟ้ามากว่า
2
ปีแล้ว
ส่วนต้นสายปลายเหตุเป็นอย่างไรดูได้จากบทความในบล็อก
“บ้านฉัน พลังงานทดแทน”
และเนื่องจากครอบครัวผู้เขียนทำอาชีพเกษตรกรรม
ซึ่งมีความจำเป็นต้องสูบน้ำขึ้นมาใช้และเพื่อทำการเกษตร
พระเอกของเรื่องนี้ที่ทำให้พวกเรามีน้ำใช้สำหรับการเกษตรก็คือ
ปั้มชักมอเตอร์จักรยานไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ในการขับเครื่อนตัวนี้
ปั้มชัก
หรือ Piston
Pump ที่บ้านผู้เขียนใช้อยู่เป็นปั้มขนาดท่อดูด
1 นิ้ว
และท่อส่ง 1
นิ้ว สามารถสูบน้ำใด้ประมาณ
2000
ลิตรต่อชั่วโมง
(ดูจากตัวเลขที่อยู่กับตัวปั้มชัก)
สำหรับแหล่งน้ำที่ดึงน้ำขึ้นมา
เป็นอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาด
200
ไร่
ซึ่งระยะทางจากแหล่งน้ำมาถึงจุดที่ตั้งปั้มชักคิดเป็นจำนวนท่อนของท่อพีวีซีประมาณ
50
ท่อน หรือประมาณ
200
เมตร
ส่วนท่อส่งน้ำไปใช้ในส่วนเป็นท่อ
2
นิ้วคิดเป็นระยะท่อพีวีซีกว่า
100
ท่อน (ระยะเฮดประมาณ
4
เมตร)
ปั้มตัวนี้สามารถดูดและส่งน้ำไปยังปลายสุดได้อย่างไม่มีปัญหา
ความแรงของน้ำสามารถเปิดหัวสปริงเกอร์เบอร์
444
พร้อมกันจำนวน
4 หัว
แต่ละหัวได้รัศมีของน้ำกว่า
2 เมตร
มอเตอร์ที่ใช้ขับเครื่อนปั้มชักที่ใช้
เป็นมอเตอร์รถจักรยานไฟฟ้า
โมเดล MY1016
ขนาด 350
วัตต์ (ประมาณครึ่งแรงม้า)
ซี่งซื้อจากอินเตอร์เน็ตเพราะในตลาดท้องถิ่นไม่มีขาย
มอเตอร์ดังกล่าวสามารถทำได้งานทั้งไฟฟ้ากระแสตรง
12
โวลต์ และ 24
โวลต์
โดยในกรณีของผู้เขียนจะใช้ที่
24
โวลต์
ความเร็วรอบของมอเตอร์ขณะไม่มีโหลดประมาณ
2750
รอบต่อนาที
กินไฟประมาณ 20
แอมป์ต่อชั่วโมง
(19.2
A) ใส่มูเลดึงสายพานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
2 นิ้ว
มูเลที่ตัวปั้มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
8 นิ้ว
เวลาเดินเครื่อง มอเตอร์จะหมุนเร็วมาก
เร็วกว่า 400
รอบต่อนาที
ปัญหาเรื่องมอเตอร์ของปั้มชักร้อนมาก
ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการใช้ปั้มชักสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
คือ มีความร้อนสะสมที่มอเตอร์มาก
จนทำให้มอเตอร์หรือสายไฟไหม้
หรือถ้าใช้เบรกเกอร์เป็นสวิช
เบรกเกอร์จะทิ๊ปหรือตัดบ่อย
สำหรับที่ผู้เขียนใช้งงานอยู่มากว่า
2 ปี
ไม่เคยมีปัญหาเรื่องนี้
แต่ไปมีปัญหาเรื่องอุปกรณ์ภายในปั้มชักสึกหรอหรือพังมากกว่า
การแก้ปัญหาเรื่องมอเตอร์ร้อน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจสภาพปัญหาก่อน
คือ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวมอเตอร์
เนื่องจากมอเตอร์รถจักรยานไฟฟ้า
เป็นมอเตอร์ที่ออกแบบมาให้สามารถทนความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง
และสามารถทำงานได้ติดต่อกันต่อเนื่องหลายชั่วโมง
แต่ปัญหาที่ทำให้มอเตอร์ของปั้มชักมีอาการร้อนขึ้นจนเกิดอาการใหม้
มีสาเหตุอยู่ 2
สาเหตุคือ

1.
ปั้มฝืด
หมายถึงอุปกรณ์ภายในปั้มติดขัด
เดินเครื่องไม่สะดวก
หรืออาจจะเกิดจากการวางลิ้นสูบน้ำของปั้มชักผิดทาง
(ถือเป็นจุดสำคัญมาก)
สรุปก็คือ
สาเหตุแรกมาจากตัวปั้มชักเอง
การแก้ไขก็แก้ที่จุดที่เกิดปัญหา

2.
การส่งน้ำออกจากปั้มชักทำได้ไม่สะดวก
กล่าวคือ
ธรรมชาติการทำงานของปั้มชักจะใช้ระบบลูกสูบในการดึงและดันน้ำไปในทิศทางที่กำหนด
จุดที่มีผลต่อการทำงานของปั้มชักคือ
การดันน้ำออกจากตัวปั้ม
ซึ่งถ้าปั้มชักสามารถสูบน้ำขึ้นมาได้
ปั้มจะต้องส่งหรือดันน้ำออกอย่างไม่มีเงื่อนไข
ถ้าน้ำที่ถูกดันออกมาจากตัวปั้มถูกขัดขวางด้วยสาเหตุใดก็ตาม
จะมีผลทำให้ปั้มชักทำงานช้าลงจนหยุดทำงาน
(ผู้เขียนเคยทดลองปิดวาล์วหน้าปั้ม
ผลปรากฎว่าปั้มชักหยุดทำงาน
แต่ไฟฟ้ายังคงไหลเข้ามอเตอร์อยู่)
ทั้งสองสาเหตุในข้างต้นมีผลทำให้ตัวปั้มชักทำงานช้าลง
ทำให้มอเตอร์หมุนช้าลงแต่ต้องใช้กำลังขับมากกว่าเดิม
ทำให้ขดลวดทองแดงของมอเตอร์มีกระแสไฟฟ้าสะสมในปริมาณมาก
ทำให้มอเตอร์ร้อนขึ้น
วิธีการแก้ปัญหามอเตอร์ปั้มชักร้อน
สำหรับการแก้ปัญหาเรื่องมอเตอร์ปั้มชักร้อน
หลายท่านใช้วิธีติดตั้งพัดลมเพิ่ม
ซึ่งหมายถึงต้องใช้ไฟฟ้าเพิ่ม
บางท่านใช้วิธีเจาะเหล็กรอบมอเตอร์เพื่อเป็นรูระบายอากาศ
แต่สำหรับผู้เขียนจะใช้วิธีการที่แตกต่างกันออกไป
คือ
1.
เลือกซื้อปั้มชักที่หมุนคล่องที่สุด
(ลองใช้มือหมุนมูเลของปั้ม)
หยอดน้ำมัน
อัดจารบี แก้ไขจุดที่ทำให้ปั้มฝืด
เช่นลูกปืนในตลับลูกปืนที่ก้านปั้มชักอาจจะแตก
ต้องเปลี่ยนใหม่
หรือตรวจสอบลิ้นสูบน้ำของปั้มชักวางในตำแหน่งที่ถูกต้อง
ซึ่งถ้าวางผิดตำแหน่งปั้มชักจะไม่ดันน้ำออกมา
และหยุดทำงานในที่สุด
2.
ทำให้น้ำไหลออกจากตัวปั้มให้เร็วและมากที่สุดที่จะทำได้
ในกรณีของผู้เขียนจะใช้ข้อต่อท่อสามทาง
แยกน้ำออกจากตัวปั้มเป็น
2
สายพร้อมกัน
ดังรูป
ถ้ามีทางออกเส้นเดียวน้ำจะไหลออกไม่ทันทำให้ปั้มชักทำงานช้าลง

3.
ใส่เช็กวาล์วให้กับท่อน้ำออกทั้งสองเส้นทาง
(ลูกศรชีในรูปถัดไป)
เพื่อป้องกันไม่ให้แรงดันน้ำที่อยู่ในท่อส่งน้ำไหลกับมาที่หน้าปั้ม
ซึ่งถ้าไม่ใส่เช็กวาล์วหรือเช็กวาล์วเสียจะทำให้น้ำในท่อส่งดันกลับมาที่หน้าปั้ม
ทำให้ปั้มทำงานช้าลง

4.
ต่อปลายท่อน้ำทั้งสองเส้นทางเข้าท่อส่งน้ำขนาด
2 นิ้ว
และติดตั้งตั้งแอร์แวร์แบบ
2
ท่อก่อนต่อเข้าท่อส่งน้ำไปใช้งานดังรูปถัดไป
แอร์แวร์จะช่วยลดแรงกดดันหรือแรงปะทะของน้ำจากท่อส่ง
ทำให้แรงกดดันของน้ำที่จุดเช็กวาล์วและท่อหน้าปั้มมีน้อยกว่าแรงดันของน้ำที่ปั้มชักดันออกมาเสมอ

5.
ใช้สายไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่หาได้
ถ้าใช้สายไฟที่ต่อไปที่มอเตอร์ของปั้มชักเป็นสายเส้นเล็ก
เวลากระแสไหลไปตามสายไฟจะเกิดความร้อนขึ้นมากกว่าสายไฟเส้นใหญ่
ความร้อนนี้จะไหลไปที่ตัวมอเตอร์ของปั้มชักด้วย

6.
ใช้คัดเอาท์หรือเบรกเกอร์ที่แอมป์สูงๆ
เพื่อให้เกิดความร้อนหรือเกิดการตัดกระแสไฟบ่อยๆ
สำหรับในกรณีของผู้เขียนจะใช้เป็นคัทเอาท์ขนาด
30
แอมป์
ซึ่งเท่าที่ใช้งานมายังไม่พบปัญหา
สำหรับการสูบน้ำใช้สำหรับการเกษตรของครอบครัวผู้เขียน
ถือว่า
ยังไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรที่ครอบครัวผู้เขียนทำกันอยู่
ในอนาคตจะพัฒนาระบบสูบน้ำที่ใช้ท่อดูดและท่อส่งขนาดใหญ่ขึ้น
เป็น 2
นิ้ว หรือ 3
นิ้ว โดยใช้ปั้มสูบน้ำที่ใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นหลัก
ได้ผลอย่างไรจะนำมาเล่าลงในบล็อกเกอร์แห่งนี้
บันทึกประจำวันที่
11
เมษายน
พ.ศ.
2557 (2014)
เวลา
|
เหตุการณ์
|
06:00
น.
|
ตื่นนอน เดินกลับมาที่บ้าน
|
06:15
น. |
ดื่มกาแฟ
อ่านวารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ
และหนังสือเรื่อง "เหนือกว่า
วอลสตรีท"
หรือ One
Up On Wall Steet. |
07:15
น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
กสิกรรมธรรมชาติ บ้านแม่ทำ
สีทา (3/2557) : ไปพ่นน้ำหมักชีวภาพในแปลงฟักทอง |
09:00
น. |
0.อาบน้ำ
กินข้าวเช้า |
1.กับข้าว:แกงจีดวุ้นเส้นหมูสับยอดผักโขม,
ผัดผักบุ้ง |
|
09:15
น. |
ทำบันทึกประจำวันของวันก่อน
ทำบัญชีครัวเรือน |
09:45
น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
งานคอมพิวเตอร์
(15/2557):อ่านเอกสารเตรียมทำบทความเรื่องใหม่ |
13:00
น. |
0.กินข้าว |
1.กับข้าว:แกงจีดวุ้นเส้นหมูสับยอดผักโขม,
ผัดผักบุ้ง |
|
13:30
น. |
นำใบราคาระบบโซลาร์เซลล์สูบน้ำเพื่อการเกษตรไปเสนอผู้ใหญ่ฝัด
ที่วังคัน |
16:30
น. |
แวะซื้อของตลาดนัดวังคัน |
17:00
น. |
แวะช่วยตรวจเช็กการทำงานของปั้มชักสูบน้ำที่บ้านของสนธยา |
18:00
น. |
งานของกิจกรรมอาชีพ
งานอินเตอร์เน็ต
(17/2557):โพสต์บทความเรื่องใหม่ |
19:00
น. |
0.อาบน้ำ
กินข้าว พักผ่อน |
1.กับข้าว:ยำหนังหมู,
หมูสามชันทอด,
ผัดยอดผักโขม,
ต้มจืดน้ำเต้าหมูสับ |
|
21:00
น. |
เข้านอน |